top of page
CALL ME
  • Facebook
  • Line

Team of Engineer Expert

บริการรับแก้ไข อาคาร บ้าน ส่วนต่อเติม ทรุด

I CAN BUILD เราเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ปัญหาอาคารทรุด แก้ไขโดยไม่ต้องทุบรื้ออาคาร ประหยัด

ด้วยวิธี UNDERPINNING ไม่ว่าปัญหาจะหนักแค่ไหน เราสามารถช่วยคุณได้

ทำไมบ้านถึงทรุด?

“บ้านทรุด” เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยเมื่อเราต่อเติมบ้านหรืออาคาร ส่วนใหญ่จะแก้ไขโดยการเก็บรอยร้าว ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ โดยเราจะยกตัวอย่างสาเหตุที่แท้จริงมีดังนี้

01

การก่อสร้างอาคารในระบบฐานรากตื้น

เช่น ใช้เสาเข็มสั้น 6 เมตร, เข็มไม้, ฐานรากแผ่ หรือพื้นชนิดวางบนดิน หากดินมีลักษณะเป็นดินเหนียวอ่อน จะเกิดการทรุดตัวได้มากถือว่าไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าโครงสร้างมีการทรุดตัวในกรณีเสาเข็มสั้น เมื่อเวลาผ่านไปเสาเข็มของส่วนต่อเติมจะค่อยๆ ทรุดลง ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ เมื่อเกิดการทรุดจะทำให้ผนังและพื้นเกิดรอยแยกห่างขึ้นเรื่อยๆ ท้ายที่สุดก็จะพังถล่มลงมา

บ้าน-03.png

ลักษณะบ้านทรุด
ที่พบได้บ่อย

เราช่วยคุณได้ ถ้าคุณกำลังมีปัญหาเหล่านี้

แก้ไขโดยทีมวิศวกร

วิธีแก้บ้านทรุดของเรา

"หายขาด 100%"

I CAN BUILD

เราซ่อมบ้านทรุดบ้านเอียงโดยวิเคราะห์จากสาเหตุด้วยวิธี

กดเสาเข็มจากใต้พื้นอาคารให้ลึกถึงชั้นดินแข็งด้วยเทคโนโลยีเครื่องกดไฮดรอลิกของเรา

ไร้แรงสั่นสะเทือนและสามารถทำในพื้นที่คับแคบได้ซึ่งวิธีการติดตั้งนี้เรียกว่าการเสริมเสาเข็มใต้อาคารหรือ"underpinning"เป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุของการทรุดตัวโดยทำเสาเข็มเสริมตรงตำแหน่งฐานรากที่มีปัญหา อีกทั้งยังสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ทันทีเมื่อติดตั้งเสร็จจึงลดความเสี่ยงสำหรับอาคารที่มีปัญหาทรุดตัวและยังชะลอการทรุดตัวไม่ให้ถึงขั้นวิกฤติ ซึ่งวิศวกรเป็นผู้คำนวณน้ำหนักลงฐานราก ออกแบบตำแหน่งที่น้ำหนักของอาคารฐานราก หรือตำแหน่งที่ต้องการให้เสาเข็มต้นใหม่รับน้ำหนักกำหนดขนาดความยาว จำนวนเสาเข็มที่เสริมซึ่งจะต้องเพียงพอที่จะรับน้ำหนักแทนเสาเข็มเดิมได้อย่างปลอดภัย

วิธีการแก้ไขบ้านทรุด

โดยทั่วไปจะมีสองวิธี

image.png
image.png

01

คือการเสริมเข็มจากใต้ฐานราก

ซึ่งจะต้องทำการขุดลงไปใต้ฐานรากเดิม แล้วกดเข็มใต้ฐานรากเดิมให้รับน้ำหนักโครงสร้างได้ดีขึ้น วิธีนี้เหมาะกับงานที่หนักๆ เช่น ตึกหรืออาคารเอียง และจะทำให้มีประสิทธิภาพในการยกได้ดียิ่งขึ้น

02

คือการเสริมเข็มจากข้างคาน

วิธีนี้จะทำการเปิดลมเล็กน้อยบริเวณข้างคาน จากนั้นทำการขุดเพื่อให้เห็นท้องคานแล้วใช้บ่ารับ โดยเชื่อมติดกับเครื่องกดไฮดรอลิกเพื่อกดเสาที่ชุบกัลวาไนท์ลงไป เป็นวิธีที่รวดเร็วและหน้างานไม่เลอะ แต่จะทำให้รับน้ำหนักได้ไม่ค่อยดี และบางกรณีจะไม่สามารถทำบริเวณที่ติดกับตัวบ้านหลักที่มีพื้นที่จำกัดได้

ขั้นตอนการกดเสาด้วยแท่นไฮดรอลิก

เสาเข็มเมื่อกดถึงชั้นดินแข็งแล้วจะสามารถใช้แรงต้านจากชั้นดินแข็งปรับยกอาคารได้ตัวอย่างดังคลิปที่แสดงด้านล่างค่ะ

แสดงรอยร้าวหลังการยกจะมีการขยับขึ้นมาชิดกัน

ผลลัพที่ได้

จากการเสริมรากค้ำยันโครงสร้าง

01

รับแรงได้ดีเนื่องจาก

ใกล้กับฐานราก

02

ไม่ต้องทุบทำลายอาคาร

03

ลูกค้าไม่ต้องย้ายที่อยู่

04

ทำในพื้นที่แคบได้

05

ไร้แรงสั่นสะเทือน

บ้าน-01.png
BG

ผลงานของเรา

ขั้นตอนการทำงาน

messageImage_1702726747095_edited.jpg

01

วิศวกรตรวจดูหน้างาน

เพื่อศึกษาอาการทรุดตัวของอาคาร และหาวิธีแก้ไขอย่างถูกหลักวิศวกร

S__9519339_edited.jpg

02

ทำการเปิดพื้นขุดหลุม

หลังจากวิศวกรกำหนดจุดและคำนวณน้ำหนัก เพื่อออกแบบเสาแล้ว ก็จะทำการเปิดพื้น โดยการขุดหลุม เพื่อกดเสาเข็ม

S__9519340_edited.jpg

03

ทำการกดเสาเข็ม

กดเสาเข็มด้วยเครื่องกดไฮดรอลิก ซึ่งเสาที่กดจะเป็นเสาเหล็ก ขนาดจะขึ้นอยู่กับวิศวกรกำหนด ความยาวจะยาวท่อนละ 1.5 เมตร

แล้วนำมาเชื่อมต่อกันจนได้ (ความลึก/ความดัน) ตามที่วิศวกรกำหนดว่าปลอดภัย

S__9519341_edited.jpg

04

ทำการเทปูนลงในเสาเข็ม

หลังจากได้ความลุกที่ต้องการแล้ว จะเทปูนลงไปในเสาเข็มให้เต็ม เพื่อเพิ่มความแข็งแรง

และทำการยกอาคารให้ได้ระดับ แล้วทำคานล็อคใว้

S__9519351_edited.jpg

05

เก็บงานปิดหลุม

เก็บงานปิดหลุม และเก็บรอยร้าวที่พื้น ผนัง และเพดานให้เรียบร้อย

process-06.jpg.webp

06

รับประกันผลงาน

ยิงระดับพื้นอาคาร เพื่ออ้างอิงการทรุดในอนาคต ทาง ICANBUILD เรารับประกันการทรุด 5ปี จากนั้นส่งรายงานการกดเข็มให้กับลูกค้า เป็นอันเสร็จสิ้น

บริษัท ไอแคนบิลด์ คอนซัลแตนท์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (สำนักงานใหญ่)

21/346 ซอยรามคำแหง 142 ถ.รามคำแหง เขตสะพานสูง

แขวงสะพานสูง กรุงเทพมหานคร 10240

  • Facebook
  • Line
  • Youtube
bottom of page